ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม


 
จำนวนผู้เข้าชม
(เริ่ม 27 พ.ค. 2552)

     สรุปกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับยาเสพติด
            คำว่า "ยาเสพติด" กับคำว่า "ยาเสพติดให้โทษ" มีความหมายแตกต่างกัน ความหมายของ ยาเสพติดต้องดูในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตรา 3 ซึ่งระบุให้ "ยาเสพติด" หมายความถึงตัวยา 3 กลุ่ม ได้แก่ ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ และสาระเหย ดังนั้น คำว่ายาเสพติดให้โทษ จึงมีความหมายแคบว่ายาเสพติด ตัวอย่างเช่น กฏหมาย ระบุให้ "ทินเนอร์" เป็นสารระเหย ทินเนอร์จึงถือเป็นยาเสพติดด้วย แต่ไม่เป็น ยาเสพติดให้โทษ สิ่งที่ตามมาคือมาตราการทางกฎหมาย อาทิ ข้าหาและบทลงโทษเกี่ยวกับ ทินเนอร์ ต้องบังคับตามกำหมายว่าด้วยสารระเหย จะนำกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือ กฎหมายว่าด้วยวัตถุออกฤทธิ์มาใช้บังคับเรื่องทินเนอร์ไม่ได้
        นอกเหนือจากตัวยา 3 กลุ่มดังกล่าวแล้ว กฎหมายยาเสพติดยังขยายการควบคุมไปถึง สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามการผลิตยาเสพ ติด การควบคุมสารเคมีดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 แนวทางด้วยกัน คือ แนวทางแรกใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495 กำหนดให้สารเคมีบางประเภทเป็น "โภคภัณฑ์ควบคุม" แนวทางที่สอง ใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2552 กำหนดให้สารเคมีบางประเภทที่มีความ สำคัญมากต่อกระบวนการผลิตยาเสพติดเป็น "ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4 " เพื่อเพิ่มมาตรา การในการควบคุม แม้สารเคมีดังกล่าวจะไม่ได้นำมาใช้เสพก็ตาม
      โดยสรุปแล้วสิ่งที่กฎหมายยาเสพติดมุ่งควบคุม     ได้แก่
            
   1. ยาเสพติด โดยแบ่งเป็นยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ และสารระเหย
               2. สารเคมี ในการผลิตยาเสพติด โดยแบ่งเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 4 และ โภคภัณฑ์ควบคุม
     พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  พ.ศ. 2519
               1.ยาเสพติด หมายถึง            -   ยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย
                                                            -  วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
                                                            -   สารระเหย
     พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
        ยาเสพติดให้โทษ คือ สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะรับประ ทาน สูบ ดม ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ ทำให้เกิดผลต่อร่างกาย และ จิตใจ ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพอย่างรุน แรง ตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของ พืช ที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมี ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย
      พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518
         วัตถุที่ออกฤทธิ์
คือ วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ที่เป็นสิ่งธรรมชาติ หรือสิ่งที่ ได้จากธรรมชาติ หรือที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ตามที่ระบุไว้ในกระทรวงสาธารณสุข โดยมีอยู่ 4 ประเภท
              ประเภท 1 มี 18 รายการ ที่สำคัญ คือ ไซโไซบีน ไซโลไซบีน เตตราไฮโดรแคนนาบิ นอล เว้นแต่อยู่ในกัญชา
              ประเภท 2 มี 38 รายการ ที่สำคัญ คือ เฟเนทิลลีน อีเฟดรีน ซูโดอีเฟดรีน เพโมลีน
              ประเภท 3 มี 8 รายการ ที่สำคัญ คือ เพนตาโซซีน
              ประเภท 4 มี 45 รายการ ที่สำคัญ คือ ไดอาซีแพม เฟนโพรพอเรกซ์
      พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533
            สารระเหย คือ สารเคมี หรือผลิตภัณฑ์ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อุตสาหกรรมประกาศว่า เป็นสารระเหย โดยมีรายชื่อตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 14  (พ.ศ.2538)
      พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495
             พระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจรัฐบาลในการควบคุมโภคภัณฑ์ คือ เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ เมื่อเกิดสถานการณ์จำเป็น เพื่อสวัสดิการของประชาชน หรือเพื่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ การกำหนดว่าสิ่งใดจะเป็นโภคภัณฑ์ควบคุม ให้ออกเป็นกฎ กระทรวง (กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพาณิชย์) ส่วนการกำหนด วิธีการควบคุม ให้ ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา
      พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534
            กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปรามนายทุนหรือตัว การสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการค้ายาเสพติด ซึ่งมาตรการตามกฎหมายเดิมไม่สามารถนำตัวมาลง โทษได้ เนื่องจากติดขัดในเรื่องของพยานหลักฐานที่จะเชื่อมโยงไปถึงผู้ค้า จึงได้กำหนด มาตรการพิเศษเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการปราบปราม 3 ประการ คือ
            1. มาตรการขยายเขตอำนาจของศาลไทย
            2. มาตรการสมคบ
            3. มาตรการริบทรัพย์สิน
       พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
            การฟอกเงินในประเทศไทยยังมิได้กำหนดให้เป็นความผิดไว้ในกำหมายใด เพื่อเป็น การ ตัดวงจรการประกอบอาชญากรรม การสกัดกั้นการนำเงินที่ได้จากการกระทำความผิด ไปใช้ประโยชน์ในการกระทำความผิดอีก หรือนำไปใช้ในการสนับสนุนการกระทำความผิด จึงกำหนดมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินได้อย่าง มีประสิทธิภาพ

     ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด พ.ศ. 2542