จังหวัดภูเก็ต ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต”กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        วันนี้ (10 ส.ค. 65)ที่ ห้องประชุมมุขหน้าชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วย “การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต”โดยมีนายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ (วว) นายเรวัต อารีรอบ นายก อบจ.ภูเก็ต ผศ.ดร. หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นายศึกษา สุวรรณดิษฐกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ร่วมลงนาม นายณรงค์ กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดี เป็นอย่างมาก ต่อการใช้ประโยชน์งานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการนำมาใช้พัฒนาพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะการท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ ที่มีพรรณไม้พื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด สืบเนื่องจาก ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 นอกจากปัญหาด้านสาธารณสุข สุขภาพของประชาชนแล้ว อีกหนึ่งเรื่อง ที่สำคัญ ที่ได้รับผลกระทบ ที่ไม่แพ้กัน คือ ปัญหาระบบเศรษฐกิจของจังหวัด เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตมีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว ซึ่งการหดตัวเรื่องการท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านอาหาร รวมทั้งธุรกิจของฝากและของที่ระลึก ซึ่งได้รับผลกระทบมาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากสถานการณ์การระบาด ณ ปัจจุบัน Covid-19 เริ่มคลี่คลายลง หลายประเทศ เริ่มคลาย lockdown รวมทั้งประเทศไทย เริ่มให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าออกได้ รวมทั้งแต่ละประเทศก็กำลังแสวงหากลยุทธ์ใหม่ๆ กระตุ้นการท่องเที่ยว เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้กลับมาเยือนหรือมาท่องเที่ยวอีกครั้ง
        นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อให้การทำงานแบบบูรณการร่วมกันหลายฝ่าย สร้างความยั่งยืน ครั้งนี้ จะเป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ คือ การนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการสร้างแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมิใช่เพียงแค่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ครั้งนี้โครงการยังจะสร้างงาน สร้างอาชีพ และธุรกิจใหม่ ให้กับจังหวัดด้วยการพัฒนา Model การท่องเที่ยวแหล่งที่ 3 ของจังหวัดภูเก็ต นอกเหนือจาก ทะเล เมืองเก่า ที่เป็นการนำศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี มาผสมผสานกับวิถีชีวิต การแต่งกาย และอาหารพื้นเมืองของเมืองภูเก็ตและวันนี้จะมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ คือ ถนนสายดอกไม้ของเมืองภูเก็ต การดำเนินงานด้านไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดภูเก็ตนั้น จะเกิดจากความร่วมมือ ประกอบด้วย 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1 วว.. 2. อบจ.ภูเก็ต 3. สมาคมโรงแรม 4. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต รวมทั้ง จังหวัดภูเก็ตที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมด้วย โดย วว. จะนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี ด้านการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับมามอบให้กับจังหวัด เพื่อนำความรู้เหล่านี้ ถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับ อีกทั้งใช้ทรัพยากรที่มีในพื้นที่สร้างประโยชน์และเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ให้กับจังหวัด พร้อมทั้งการออกแบบให้เข้ากับภูมิอากาศ และภูมิทัศน์ เพื่อเกิดความเหมาะสมกับจังหวัด ซึ่งปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ต นำเข้าไม้ดอกไม้ประดับมาจากนอกพื้นที่ ซึ่งต่อไปนี้ คนภูเก็ตเอง จะเป็นผู้ผลิตและเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับได้โดยตรง และนอกจากพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแล้ว วว. ก็ยังพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างผู้ประกอบการ สร้างอาชีพ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อีกทั้งได้รับการสนับสนุนและร่วมกันพัฒนาพื้นที่ จากทาง อบจ. จังหวัดภูเก็ต นำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ ในการพัฒนา ด้านการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ และนอกจาก วว. และ อบจ. แล้ว ยังมีหน่วยงานที่จะเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันงานให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้จะเข้ามาเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับ นอกจากนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ตามโรงแรมต่างๆ ในเครือข่ายสมาคมแล้ว ก็จะนำไปประดับใน menu อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ในเครือข่ายของสมาคมร่วมแล้ว ทางสมาคมจะเป็นผู้สร้างตัวกลางหรือ trader ไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดภูเก็ต เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างโรงแรมต่าง ๆ และเกษตรกร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ รวมทั้ง มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต ร่วมสนับสนุน ก็จะมาช่วยพัฒนานิสิตนักศึกษาคนรุ่นใหม่ของจังหวัดภูเก็ตมาร่วมทำธุรกิจด้านไม้ดอกไม้ประดับ รวมทั้งจะมหาวิทยาลัยจะเป็นพี่เลี้ยงเทคโนโลยี และเป็นศูนย์การบ่มเพาะและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับให้กับพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ ถือเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพแก่เกษตรกรชาวจังหวัดภูเก็ตซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งและลดการนำเข้าไม้ดอกไม้ประดับจากนอกพื้นที่ซึ่งจะเป็นกรลดต้นทุนกับผู้ประกอบการและยังป็นการสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่อีกด้วย หลังจากนั้นทางคณะได้มีการปลูกต้นไม้ในบริเวณศาลากลางจังหวัดภูเก็ตอีกด้วย
ข้อมูลจาก :: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต [2565-08-11]
ข่าวอื่นๆ
- นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับฟังปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านที่อยู่อาศัยและทำกินอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบางขนุน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต  [2566-07-10]
- นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิด “เมดิคอล เวลเนส รีสอร์ต” หนุนภูเก็ต เป็น “Medical Hub” ภูมิภาคอาเซียน  [2566-07-10]
- นายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมปลูกป่านำร่องเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในจังหวัดภูเก็ต เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายใต้โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม  [2566-07-10]
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เดินทางไปอำนวยการในพื้นที่ เพื่อให้การช่วยเหลือ มีการเจรจาโดยผ่านนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย มีการจัดเตรียมอุปกรณ์กู้ชีพกู้ภัย  [2566-07-10]
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ภาครัฐ เอกชนภูเก็ตร่วมจัด WORKSHOP : เรียนรู้จาก Expo Phuket 2028  [2566-07-10]
- ภูเก็ต ภาคเอกชนติดตามความคืบหน้าของโครงการพัฒนาจังหวัดและติดตามความคืบหน้ากรณีการปรับปรุง ถนนเส้นหลวงปู่สุภา-ป่าตอง  [2565-11-01]
- จังหวัดภูเก็ตสั่งบูรณาการทุกหน่วยงานปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้น  [2565-11-01]
- ภูเก็ตต้อนรับเรือสเปคตรัม ออฟ เดอะ ซีส์ (Spectrum of the seas) ที่นำนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า4,000 คน เยือนหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต เป็นครั้งที่2  [2565-11-01]
- งหวัดภูเก็ต กำหนดจัดงาน “วิวาห์บาบ๋าภูเก็ต” ส่งเสริมการท่องเที่ยวเสน่ห์ชุมชน ยลวิถีย่านเมืองเก่า ชมพิธีกรรม ขบวนคู่บ่าว-สาว พิธีผ่างเต๋ อนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีเมืองภูเก็ต   [2565-08-11]
- จังหวัดภูเก็ตประชุมทางไกลรับฟังการชี้แจงการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 (ประเทศไทย)  [2565-08-11]
>> ข่าวทั้งหมด