ภูเก็ตประชุมจัดทำแผนจัดหาน้ำต้นทุนและแผนปฏิบัติการปี 2563-2565 จังหวัดภูเก็ต เร่งแก้ปัญหาน้ำครบวงจร น้ำท่วม น้ำแล้งและน้ำเสีย

        วันนี้ (28 ตุลาคม 2562) เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม คอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติพร้อมด้วยนายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตและนายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานการประชุมการจัดทำแผนจัดหาน้ำต้นทุนและแผนปฏิบัติการประจำปี 2563-2565 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการปกครองส่วนท้องถิ่นตัวแทนภาครัฐเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
        นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่าข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีให้มีกระบวนการจัดทำแผนการจัดการแหล่งน้ำและการป้องกันอุทกภัยพื้นที่หน่วยเศรษฐกิจโดยให้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องจัดทำแผนการจัดการแหล่งน้ำและแผนการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญในจังหวัดต่างๆเช่น ภูเก็ต,ขอนแก่นและเชียงใหม่ ให้ดำเนินการจัดทำแผนระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวโดยบูรณาการหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบทั้งนี้ให้บรรจุแผนปฏิบัติการโดยเร็ว โอกาสนี้ที่ประชุมได้นำเสนอ ข้อมูลปริมาณความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคของจังหวัดภูเก็ต ดังนี้ จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่เกาะ 543 ตารางกิโลเมตรพื้นที่บริการน้ำประปาประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด ,ประชากรที่ใช้น้ำประปาประมาณร้อยละ 80 ของทั้งหมด,ความต้องการ ณ ปัจจุบันเฉลี่ย 220,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือ 80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี, ในขณะที่กำลังผลิตน้ำปัจจุบันประมาณ 188,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือ 65 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แบ่งเป็น 1.การประปาส่วนภูมิภาคภูเก็ต 3 แห่งกำลังผลิต 84,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 30 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 2.การประปาเทศบาลนครภูเก็ต 3 แห่ง กำลังผลิต 41,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 15 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี 3.ประปาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอื่นๆ 7 แห่งกำลังผลิต 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และ 4.ประปาเอกชน 8-10 แห่งผลิตได้ 48,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวันหรือ 15 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ปริมาณน้ำอุปโภคบริโภคยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของประชาชนดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม โดยภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่า จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดเป้าหมาย ที่คาดว่าจะมีผลกระทบเรื่องภัยแล้ง แม้ว่าในพื้นที่จะมีฝนตกมากก็ตาม ในส่วนของนายกรัฐมนตรีได้มีการกำชับว่า ขอให้มีการเตรียมการในระยะยาวโดยการประชุมในวันนี้มีข้อสรุป ใน 2 ประเด็นประเด็นแรกคือ การแก้ปัญหาภัยแล้ง อย่างไร ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตมีน้ำต้นทุนที่เพียงพอแต่ยังขาดเรื่องของโครงข่ายการกักเก็บน้ำ ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันให้ได้ โดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการสำรวจข้อมูลให้มีความชัดเจนว่าพื้นที่ใดบ้าง มีความต้องการน้ำ จำนวนเท่าไร และพื้นที่ใด ที่จะเป็นแหล่ง กักเก็บน้ำ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาค การประปาของเทศบาลนครภูเก็ต และการประปา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยกันสำรวจข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลความชัดเจนเกี่ยวกับความต้องการน้ำก็จะนำมาสรุป ว่า เมื่อมีความต้องการใช้น้ำจะดำเนินการเอาน้ำจากส่วนใดมาใช้บ้างเช่นแหล่งน้ำจากผิวดิน คือน้ำที่ไหลตามลำห้วยลำคลอง ก็จะเอามาใช้ก่อนส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำ จะเก็บไว้ใช้ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆและอีกแหล่งคือน้ำบาดาล เข้ามาช่วยเสริม ซึ่งเป็นการวางแผนล่วงหน้า และประเด็นที่สองคือในส่วนของการจัดทำแผนหลัก ซึ่งตามกฎหมายพ.ร.บ น้ำกำหนดไว้ว่าจะต้องมีการจัดทำแผน 5 ปีคือตั้งแต่ปี 2561-2565 โดยขณะนี้ สทนช. ได้มีแผนงานโครงการการบริหารจัดการน้ำจากหลายหน่วยงานแล้ว แต่ยังขาดของบางหน่วยงานที่ยังไม่ได้เสนอเข้าไปโดยในเรื่องนี้ได้ขอความอนุเคราะห์ทางจังหวัด และท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้บูรณาการแผนงาน อีกครั้งเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมและตอบโจทย์ความต้องการใช้น้ำของจังหวัดภูเก็ตอย่างแท้จริง โดยแผนจากจังหวัดภูเก็ตคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 10 วันก็จะได้แผนเข้ามา เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตจะได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งจัดทำแผนดังกล่าว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกันทั้งในส่วนของความต้องการ การใช้น้ำและแหล่งน้ำดิบ ของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ กำชับอย่างชัดเจนว่าไม่อยากให้เกิดภัยแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เศรษฐกิจอย่างเช่น จังหวัดภูเก็ต สำหรับปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดความเข้าใจในการวางแผนรับมือในระยะยาว โดยจังหวัดภูเก็ตมีแหล่งน้ำที่เป็นขุมเหมืองจากภาคเอกชนพร้อมจะมาสนับสนุน แต่ยังขาดกลไกการเชื่อมโยงโครงข่ายแหล่งน้ำ โดยพบว่า ในส่วนของแหล่งน้ำบาดาลของจังหวัดภูเก็ตก็มีความพร้อม และพบว่าในส่วนของน้ำผิวดินก็มีการสูบน้ำย้อนกลับไปเติมไว้ในอ่างเก็บน้ำ ทั้งนี้หลายมาตรการในการแก้ปัญหาจะต้องอาศัยความร่วมมือบูรณาการร่วมกันโดยการจัดลำดับความสำคัญของการทำงาน ที่สำคัญผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต จะได้ เร่งจัดประชุม เร็วๆนี้ เพื่อที่จะให้ กลไก ขั้นตอนการปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำ มีความชัดเจนขึ้น เบื้องต้นในการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งของจังหวัดภูเก็ตน่าจะไม่มีปัญหาโดยดูจากข้อมูลของการเตรียมการ ที่มีความรัดกุมและมีการบูรณาการทำงานมีเจ้าภาพที่ชัดเจน สถานการณ์ต่างๆจะคลี่คลายไปได้ สำหรับการแก้ปัญหาภัยแล้งในระยะยาว หากพิจารณาแล้วมีผลกระทบน้อยมีผลสัมฤทธิ์ที่สอดคล้องกับแผนแม่บทน้ำ ก็สามารถดำเนินการได้เลย ทั้งนี้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคนในขณะที่มีประชากรไม่มากนัก โดยสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ปัจจัยเหล่านี้เป็นประเด็นที่จะต้องมีการวางแผน การจัดการน้ำให้มี ความรัดกุมมากยิ่งขึ้น แผนแม่บทน้ำจะต้องมีเป็นรูปธรรม นำไปปฏิบัติได้ ไม่ได้มีเฉพาะของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น โดยจะดูครอบคลุมทั้งในเรื่องของน้ำแล้งน้ำท่วมและน้ำเสีย ที่จะต้องแก้ไขไปในคราวเดียวกัน และมีการตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจน ภายในปี 2565 จะต้องมีน้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสิ่งนี้เป็นกลไกที่จะให้หน่วยงานมีเป้าหมายร่วมกันตามแผนแม่บทน้ำ ทั้งนี้หากหน่วยงานมีความพร้อมในเรื่องของแผนงานโครงการก็จะมีการเสนอโครงการเข้าสู่คณะกรรมการ ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งจะมีการประชุมในเดือนธันวาคม 2562 อย่างไรก็ตามแม้ว่าขณะนี้ปัญหาน้ำแล้งจะยังไม่เกิดแต่จากประสบการณ์ในปีที่ผ่านมาจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำแล้ง อันดับต้นๆของประเทศดังนั้นในส่วนของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้มีการสั่งการกำชับ ให้หน่วยงานมีการ วางแผนแก้ปัญหาล่วงหน้ากำหนดเป็นแผนปฏิบัติการที่ทุกหน่วยงานต้องรับทราบและต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบโดยหากพื้นที่ใดมีปัญหาจะต้องเร่งหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขทันที เลขาธิการ สทนช.กล่าวยืนยันด้วยว่าภัยแล้งปีนี้จังหวัดภูเก็ตปัญหาการขาดแคลนน้ำจะน้อยลง สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต/ข่าว/ภาพ
ข้อมูลจาก :: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต [2562-10-28]
ข่าวอื่นๆ
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)   [2567-04-10]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธาน ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2567   [2567-04-10]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรในประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2567 ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต  [2567-04-10]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนและทางทะเล ช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 จังหวัดภูเก็ต  [2567-04-10]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานจัดพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2567   [2567-04-10]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการแถลงข่าวจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสงกรานต์ ประจำปี 2567   [2567-04-05]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการแถลงข่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดพบสื่อมวลชน  [2567-04-05]
- ผู้ว่าฯ ภูเก็ต พบปะเยี่ยมเยียนพี่น้องชาวมุสลิมพร้อมมอบอินทผาลัมเนื่องในเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๔๕ ณ มัสยิดนูรุดดีนียะฮ์ (บางคณทีบน) ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต  [2567-04-05]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมลงพื้นแหลมพรหมเทพ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืชตระกูลปาล์ม ที่ทำลายต้นตาลโตนดต้นไม้สัญลักษณ์จุดชมวิว Landmark   [2567-04-03]
- นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องชาวมุสลิมพร้อมมอบอินทผาลัมเนื่องในเดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช ๑๔๔๕ ณ มัสยิดมูการร่ม (บางเทา)   [2567-04-03]
>> ข่าวทั้งหมด